วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

Grabble : Outdoor Furniture for King rama 9

Grabble : นั่งสบาย สบาย

แกรปเบิ้ลเกิดจากการลงพื้นที่หาข้อมูลในสวนหลวง ร.9 แล้วนำพฤติกรรมแล้วปัญหาภายในสวนมาทำการออกแบบ โดยพบว่าภายในสวนคนส่วนใหญ่จะไม่นั่งเฟอร์นิเจอร์ด้วยเหตุผลของความสะอาดเป็นหลัก โดยเลือกที่จะนั่งที่พื้นแทนเพราะได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และปัญหาที่พบคือ การสื่อสารของข้อมูล เพราะมีอย่างไม่เพียงพอ ทำให้คนที่ไปในครั้งแรกมักจะหลงทางในสวน เพราะดูแผนที่แล้วไม่ทราบว่าิ่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าคืออะไรในแผนที่



แกรปเบิ้ลนั้นออกแบบโดยนำหลักกายวิภาคมาเป็นหลักในการออกแบบให้สามารถนั่งอย่างสบายที่สุด และนำขนาดสัดส่วนเหล่านั้นมาำออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยให้ตัวที่่นั่งนั้นตั้งขึ้นเพื่อให้สามารถให้ข้อมูลได้ โดยเป็นการสอดแผ่นโปสเตอร์ เอกสารต่างๆ ไปในระหว่างพลาสติกสองแผ่น หรืออาจจะพัฒนาให้เป็นหน้าจอระบบสัมผัสในอนาคต และการที่นั่งตั้งยังจะทำให้ที่นั่งนั้นมีความสะอาดอยู่ตลอด พร้อมใช้งาน และก็เป็นการตอบโจทย์ให้คนที่มาในสวนสามารถใกล้ชิดธรรมชาิติโดยให้นั่งติดกับพื้น



develop

จากแบบเดิมที่เป็นเก้าอี้เดี่ยวจึงได้นำมาทำการพัฒนาให้ลดความแข็งของงานลง โดยจับคอนเสปดอกไม้บานมาประกอบ โดยจัดเป็นการวางแบบหมู่โดยเรียงเป็นวงกลม ทำให้สามารถใช้งานในรูปแบบของนิทรรศการ เหมือนกับเป็นดอกไม้ตูมและบานออกเมื่อนั่งลง พร้อมทั้งกำหนดเฉดสีให้สามารถเลือกเปลื่ยนได้โดยใช้สีของดอกไม้และใบไม้เป็นหลัก


project's adviser
aj' aran wanichakorn

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

Waking Toaster

waking toast เป็นโปรเจคที่อยู่ในอยู่ในหัวข้อ "อาหารเช้า" โดยกำหนดให้ออกแบบสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ โดยได้ตีความหัวข้อว่า อาหารเช้าเ ป็นสิ่งที่ทุกคนรู้ว่าสำคัญแต่ก็ละเลยที่จะให้ความสนใจ จึงต้องการจะออกแบบผลงานเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือน ย้ำ ให้ตระหนักถึงความสำัคัญของ "อาหารเช้า"

 
โดยเมื่อศึกษาลงไปในเบื้อลึกแล้วสิ่งที่มีผลต่อการกินอาหารเช้ามากที่สุดนั้นคือ เวลา นั้นเอง และปัจจัยสำคัญในการควบคุมเวลาในตอนเช้า นั้นก็คือนาฬิกาปลุก จึงได้ทเำลือกการออกแบบนาฬิกาปลุกที่จะช่วยย้ำให้ย้อนนึกถึงเรื่องอาหารเช้า โดยใช้เครื่องปิ้งขนมปังเป็นสัญลักษณ์ และดึงรูปทรงใ นยุค 60  และฟังก์ชั่นของเครื่องปิ้งขนมปังมาล้อเลียน




เมื่อนาฬิกาปลุกทำการปลุกตามที่ตั้งเวลาไว้เครื่องปิ้งจะทำการดีดแผ่นขนมปังที่เป็นไวท์บอร์ทบันทึกข้อความไว้ออกมา โดยในแผ่นนั้นจะมีการเขียนเผื่อย้ำเตือนความสำคัญของอาหารเช้า ในขณะเดียวกันที่แผ่นขนมปังถูกดีดออกมานาิฬิกาปลุกก็จะดังไปเรื่อยๆ จนกว่าจะนำแผ่นขนมปังนั้นกลับมาเสียบคืนที่เดิม




Recoperate Siam@Siam Design Hotel&Spa


การปรับปรุงกราฟฟิคเก่าของโรงแรมสยามแอทสยาม ตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ โดยจากการเยื่ยมชมโรงแรมและศึกษาข้อมูลพบว่า กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้งานในโรงแรมนั้นมักเป็นชาติที่มีอายุไม่มานักโดยเป็นวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน โดยจะไม่มีคนที่มีอายุเข้ามาใช้งานเพราะจะไปเลือกใช้โรงแรมที่เป็นอีกประเภทหนึ่งหมดจึงอยากสร้างภาำพลักษณ์ให้กับโรงแรมให้ดูทันสมัยสนุกสนานเช่นเดียวกับลูกค้าที่เข้ามาใช่บริการส่วนใหญ่





วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

repackage : มะม่วงกวน


มะม่วงกวนแบบเม็ด : บริษัท แปรรูปผลไม้วรพร จำกัด ( ฉะเชิงเทรา )
มะม่วงเป็นผลไม้ที่ขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและด้วยจำนวนที่มากทำให้การจำหน่ายนอกจากจะไม่ได้ราคาแล้วยังจะเน่าเสียทิ้งอีกด้วย การถนอมอาหารนั้นเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าอีกทั้งยืดอายุของมะม่วงได้อีกด้วย การพัฒนารูปแบบเพืื่อการจำหน่ายนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น

รูปแบบแรกเป็นการจับช่วงเวลา ฤดูกาลของมะม่วงบวกกับหาภาำำำพลักษณ์ให้เป็นจุดขาย โดยเล่นกับฤดูที่มะม่วงจะล้นตลาดและช่วงเวลาที่น่าจะกำลังว่างจำหน่าย คือ หน้าฝนและตุ๊กตาไล่ฝน ด้วยเพราะจังหวัดที่ จำหน่ายมาจากฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นจังหวัดติดทะเลซึ่งถ้าฝนตกก็คงขาดนักท่องเที่ยวไป

แบบที่สอง เป็นการนำมะม่วงกวนที่ิกินแล้วจะติดฟันมากินในแบบอม แทนซึ่่งจะได้รสชาติไม่ต่างกันแต่ก็ยังจะสามารถเคี้ยวกัดได้เช่นเดิม รูปแบบเป็นคล้ายกับอมยิ้ม โดยการนำเอามะม่วงกวนแบบเม็ดมาเสียบไม้และ่ห่อพลาสติกที่มีลายกราฟฟิครูปมะม่วง ให้เหมือนกับว่าสด และใหม่มาจากต้น







หลังจากนั้นก็ได้นำสเกจมาพัฒนาให้เป็นแบบจำลองโดยเลือกใช้วิธีกินแบบอมยิ้มและออกแบบบรรจุภัณฑ์ภายนอกเพิ่มเติมโดยใช้กราฟฟิคช่วยเพิ่มความเป็นต้นมะม่วงที่กำลังออกลูกให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น โดยในรูปแบบเดิมนั้นได้พัฒนาต่อให้ไปใช้กับทุเรียนกวนอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

ads : เศรษฐกิจอาหารท้องถิ่น

เศรษฐกิจอาหารท้องถิ่น : ทางเลือกและทางรอดของเศรษฐกิจ สังคม นิเวศ


เป็นหนังสือที่ถูกบังคับให้อ่านในชั้นเรียนวิชาบูรณการของมหาลัย ซึ่งก็เป็นปรกติแค่ชื่อมันก็น่าเบื่อบรมแล้ว เนื้อหาภายในเป็นการรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งเชื่อมโยงกับอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยมีความคิดถึงความน่าเบื่อของข้อมูล และภาษาทีเข้าใจยากในสิ่งที่หนังสือต้องการจะสื่อ จึงเกิดความคิดที่จะหาทางออกให้คนประเภทเดียวกัน ซึ่งไม่ชอบอ่านหนังสือที่เป็นเชิงข้อมูล ออกมาเป็นสื่อให้ตระหนักถึงข้อมูลเดียวกันแต่สามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ง่ายกว่า




ตัวงานมีสี่แบบโดยทั้งหมดจะตั้งคำถามกับสิ่งเรากำลังบริโภคในปัจจุบันว่า "เงินที่เสียไป กำลังจ่ายเพื่อบริโภคสิ่งใดกันแน่ "ที่เลือกมาเล่นกับงานโดยเป็นหลัก คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนบริโภคกันโดยทั่วไป โดยจำแนกเป็นตัวเงินที่เป็นต้นทุนของเส้นบะหมี่จริง และส่วนประกอบอื่นๆ ในการผลิตและขนส่งว่าสิ่งที่จ่ายไปนั้นเราไม่ได้เส้นแป้งหมดทั้งหกบาท ให้ผู้รับสารตระหนัก แล้วก็แอบเสนอทางออก หรือข้อคิดเห็นแบบติดตลกด้านล่างว่าก็มีสิ่งที่คล้ายกันอยู่ให้เราเลือกบริโภคอยู่เช่นกันอยู่ที่เราจะเลือกสิ่งใด นอกจากนั้นยังพุ่งเป้าไปที่ประเด็นอื่นๆ เช่น ผลไม้เมืองนอก อาหารสำเร็จรูป และอาหารกระป๋อง โดยใช้หลักการเดียวกัน



ด้วยความปราถนาดีจาก
enita+lap